552 จำนวนผู้เข้าชม |
สำหรับตลาดอาหารปศุสัตว์ไทยปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 11% หรือ 11,641 ล้านบาท ทำให้ตลาดมีมูลค่า 258,661 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในภาพรวมของโลกมีการคลี่คลาย เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีการเปิดประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าโลกกลับมาฟื้นตัว เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารของไทยขยายตัวตามไปด้วย “มีการคาดการณ์ว่าปี 2566 ตลาดส่งออกสินค้าปศุสัตว์จะส่งออกประมาณ 300,000 ล้านบาท ส่งผลให้ฟาร์มปศุสัตว์มีโอกาสเติบโตและสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการปศุสัตว์ของไทยได้ขยายโอกาสทั้งในประเทศและตลาดโลก ปัจจุบันไทยส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อไก่เป็นอันดับ 4 ของโลก ขณะที่ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกยังคงเป็นของบราซิล”
จากการมองเห็นโอกาสของการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ BRI ได้นำผลิตภัณฑ์เข้ามาจำหน่ายในไทย 3 แบรนด์ โดยแบรนด์เรือธงสำคัญ คือ เอ็นซาโปร (Enzapro) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิืเสริมกัน หรือ Zymbiotic ซึ่งประกอบด้วย Enzyme Prebiotic และ Probiotic ซึ่งเอ็นซาโปร จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบลำไส้สัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการย่อย เพิ่มความสมดุลของลำไส้ ลดการก่อโรคของแบคทีเรียที่จะทำให้เกิดความเสียหายในลำไส้ ซึ่งเอ็นซาโปร สามารถส่งเสริมสมรรถภาพทางเดินอาหารของไก่ ปลา หมู เอ็นซาโปรเป็นสารธรรมชาติที่ได้จากการหมักจุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษ ที่สามารถเพิ่มการเจริญเติบโตได้ดี โดยที่ไม่ต้องใช้สารเร่งโตเป็นตัวช่วย ที่สำคัญ เอ็นซาโปรไม่ใช่ยาปฎิชีวนะ จึงไม่นำไปสู่ปัญหาของการดื้อยาทั้งในคนและในสัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในเวลานี้”
Mr. Flemming Mahs กล่าวต่อว่า สายพันธุ์ไก่มีการพัฒนาทุกปีให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาน้อยลง ปัจจุบันเราสามารถเลี้ยงไก่ให้มีน้ำหนัก 2.2-2.4 กิโลกรัมภายในเวลาไม่ถึง 40 วัน และการยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) และยาปฏิชีวนะที่มีผลกระตุ้นการเจริญเติบโต (Antibiotic Growth Promotor - AGP) ที่ยังคงมีการใช้กันแพร่หลายในเอเชีย ส่งผลทำให้เกิดการดื้อยาในคน มีรายงานจากโรงพยาบาลศิริราช พบการเสียชีวิตจากผู้ป่วยที่มียีนส์ดื้อยากว่าสามหมื่นคนต่อปี ส่งผลทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวและเรียกร้องให้ผู้ผลิตเนื้อหมูหรือไก่ให้ลดหรือยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง ปัจจุบันทางยุโรปมีการเลิกใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์มานานกว่าสิบปีแล้ว ดังนั้น การใช้สารเสริมที่มาจากธรรมชาติจึงเป็นที่ยอมรับและเป็นทางเลือกสำหรับผู้ผลิตเนื้อสัตว์
การเลี้ยงไก่แบบอุตสาหกรรม ในหนึ่งเล้าจะเลี้ยงประมาณ 20,000 ตัว หากมีการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอ ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาและโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคทางเดินอาหารที่มาจากการติดเซื้อแบคทีเรีย อี โคไล (E. Coli) ซัลโมเนลลา (Salmonella spp) คลอสทริเดียม (Clostridium) ได้ ซึ่งแบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้ทำให้เกิดความเสียหายในเรื่องประสิทธิภาพการเลี้ยง เสี่ยงต่อการปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ และส่งผลต่อความเจ็บป่วยของผู้บริโภค ซึ่งประเทศที่ผลิตเนื้อไก่เพื่อการส่งออก จะต้องมีการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ เชื้อซัลโมเนลลา และต้องปลอดการปนเปื้อนจึงจะสามารถส่งออกได้ สำหรับแผนการทำตลาดของ เอ็นซาโปร ในประเทศไทย คือการสร้างความเข้าใจในเรื่องการลด/หยุดใช้ยาปฎิชีวนะ การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง การลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการทำวิจัยร่วมกับผู้ผลิต เพื่อหาวิธีการใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างผลกำไรให้ฟาร์มอย่างยั่งยืน
“ตลาดไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ คนไทยทำปศุสัตว์จำนวนมากและไทยมีความสามารถที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก ทำให้เนื้อไก่ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อสด เนื้อแปรรูป เนื้อแช่แข็ง ฯลลฯ เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้เชื่อมั่นว่าการบุกตลาดไทยครั้งนี้ของ BRI จะสามารถสร้างความยั่งยืนในแง่ของความปลอดภัยในด้านอาหาร และสามารถเติบโตไปกับคู่ค้าได้”
Mr. Flemming Mahs กล่าวทิ้งท้ายสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเลือกใช้สารเสริมว่า ปัจจุบันสารเสริมทั่วโลกมีอยู่หลายร้อยชนิด ในประเทศไทยเองมีสารเสริมจำหน่ายอยู่กว่า 300 ชนิด ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องรู้และเข้าใจก่อนว่าสารเสริมแต่ละชนิดทำงานอย่างไร ส่งผลต่อการเลี้ยงและการเจริญเติบโตของสัตว์อย่างไร และควรเลือกซื้อจากบริษัทที่ให้คำแนะนำ เช่น สารเสริมต้องใช้กับสัตว์อายุเท่าไหร่ ต้องใช้ร่วมกับอะไร ที่สำคัญต้องมี KPI ในการวัดประสิทธิภาพ รวมถึงต้องมีงานวิจัยหรือการใช้งานจริงด้วย